เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด
ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
[108] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี
สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร
สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น
คำว่า ดำเนินอย่างไร ในคำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อธิบาย
ว่า ดำเนินอย่างไร คือ ปฏิบัติอย่างไร เคลื่อนไหวอย่างไร เป็นไปอย่างไร เลี้ยงชีวิต
อย่างไร ดำเนินไปอย่างไร ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร รูปจึงไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้น รวมความว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี
คำว่า สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร อธิบายว่า สุขและทุกข์จะไม่มี คือ
ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นได้อย่างไร รวมความว่า สุขและทุกข์จะไม่มีได้
อย่างไร
คำว่า วิธีการนั้น ในคำว่า สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ วิธีการที่ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ
ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ รวมความว่า วิธีการนั้น
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... นั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ ขอพระองค์
โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... นั้นแก่ข้าพระองค์
คำว่า สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ได้แก่ สุขและทุกข์ย่อมไม่มี คือ
ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น โดยวิธีการใด รวมความว่า สุขและทุกข์ย่อม
ไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :329 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 11. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า จะรู้วิธีการนั้น ในคำว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น
ได้แก่ พวกข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่วถึง รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดวิธีการนั้น
รวมความว่า จะรู้วิธีการนั้น
คำว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า ได้แก่ ข้าพระองค์มีความตั้งใจ คือ
ข้าพระองค์มีความคิด ข้าพระองค์มีความดำริ ข้าพระองค์มีความรู้แจ้ง ดังนี้ รวม
ความว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิต
จึงทูลถามว่า
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี
สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร
สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น
[109] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ
ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ
เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี
เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา
คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญา
ผิดปกติ อธิบายว่า คนเหล่าใด ดำรงอยู่ในสัญญาปกติ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า
ผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ บุคคลนั้นมิได้ดำรงอยู่ในสัญญาปกติ
คนเหล่าใด เป็นบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้มีสัญญาโดย
สัญญาผิดปกติ บุคคลนั้น มิได้เป็นบ้า มิได้มีจิตฟุ้งซ่าน รวมความว่า บุคคลไม่เป็นผู้
มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :330 }